ผลจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ระลอกที่ 4 ที่กระจายวงกว้างอยู่ในขณะนี้นั้น ส่งผลกระทบกับประชาชน และหน่วยงานทุกภาคส่วน จนทำให้รัฐบาลได้ออกมาตราการเยียวยา ช่วยเหลือประชาชนมากมาย และหนึ่งในนั้นก็คือ มาตราการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 33,39 และ40
ถึงแม้ว่าในตอนนี้ภาครัฐจะยังกำหนดการเช็คสิทธิเยียวยาของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และผู้ประกันตนมาตรา 40 ยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควรนัก แต่ทางภาครัฐ ได้มีประกาศออกมาเปรยๆ ไว้แล้วถึงกลุ่มที่จะสามารถเข้าร่วม และรับเงินเยียวยาได้ ซึ่งในขณะนี้ จำนวนเงินเยียวยานั้นถูกำหนดให้ต่อ 1 บุคคลอยู่ที่ 2,500 - 5,000 บาท แต่ยังไม่มีการประกาศชัดเจน และอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
ซึ่งในตอนนี้รัฐบาล และสำนักงานประกันสังคม ได้เปิดให้ผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตน เข้าร่วมลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ก่อนที่จะเริ่มให้ประชาชนลงทะเบียนโครงการเยียวยาผู้ประกันตนในวันที่ 6 สิงหาคม - 15 สิงหาคม และก่อนที่เราจะไปเช็คสิทธิการรับเงินเยียวยา หรือสมัครเข้าร่วมโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 และ40 เราควรจะทำความเข้าใจ และรู้จักกันก่อนว่าเราอยู่ในกลุ่มผู้ประกันตนกลุ่มไหนกันแน่ และแต่ละกลุ่มมีความแตกต่าง หรือผลประโยชน์ที่ได้รับต่างกันอย่างไร ทั้งนี้ เพื่อนประโยชน์ และป้องกันการโดนเอาเปรียบของตัวเราเอง
ประเภทของผู้ประกันตนที่มีสามารถเข้าร่วมโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมี 3 กลุ่มดังนี้
ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 คือประชาชนกลุ่มที่ทำงานตามบริษัท พนักงาน ลูกจ้าง ที่ถูกหักเงินเดือน 750 บาททุกเดือนเพื่อใช้ในการชำระค่าประกันสังคม ซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี ไปจนถึง 60 ปี บริษัทจะทำการหักเงินเราในจำนวน 750 บาท และนำส่งให้กับประกันสังคมเพื่อต่ออายุประกันสังคมให้เราได้ถือสิทธิผู้ประกันตนตามมาตรา 33 โดยอัตโนมัติ ซึ่งในการเข้าร่วมโครงการของกลุ่มนี้นั้น ทางบริษัท จะเป็นผู้ดำเนินการให้โดยที่ในตอนนี้เราสามารถเข้าไปเช็คสิทธิว่าเราสามารถเข้าร่วมรับสิทธิได้หรือไม่ที่ Website ประกันสังคมได้เลยจ้า
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 กลุ่มนี้นั้นเป็นผู้ประกันตนที่เคยเป็นพนักงาน ลูกจ้าง ที่ถือสถานะของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน และได้ทำการออกจากการเป็นผู้ประกันตนตามาตรา 33 หรือลาออกจากการเป็นพนักงานประจำนั้นเอง ซึ่งกลุ่มผู้ประกันตนตามมาตรา 39 นี้จะต้องทำการชำระค่าประกันสังคมทุกเดือนโดยแต่ละเดือนนั้นจะมีค่าบริการที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้ประกันตนตามมาตรา 39 นั้นมักจะถูกตัดสิทธิเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีการขาดการชำระติดต่อกันเป็นเวลาถึง 3 เดือน ทางประกันสังคมได้มองเห็นถึงปัญหา และมีการเพิ่มช่องทางการชำระเงินเพิ่มเติมเป็นช่องทางของการตัดชำระผ่านบัญชีเงินฝากอัตโนมัติเป็นประจำทุกเดือนซึ่งระบบนี้จะช่วยให้ผู้ประกันตนมาตรา 39 ไม่หลุดจากการขาดส่งเงินทุกเดือน แต่หากบัญชีไม่มีเงินพอ หรือเกิดการขาดส่งเงินเกินเป็นระยะเวลา 3 เดือนแล้ว ประชาชนกลุ่มนั้นสามารถสมัครเพื่อเข้าร่วมเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ต่อได้โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 นั้นจะเป็นกลุ่มผู้ที่ไม่เคยทำงานในรูปแบบพนักงานบริษัท ลูกจ้าง หรือไม่เคยเข้าร่วมในการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 มาก่อนจะได้รับสิทธิให้สมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 และผู้ประกันตนมาตรา 40 นั้น สามารถเลือกการชำระค่าเบี้ยประกัน และค่าบริการได้ทั้งหมด 3 รูปแบบดังนี้
กรณีที่ผู้ประกันตนมาตรา 40 เลือกชำระเบี้ยประกันจำนวน 70 บาท ต่อเดือนนั้น จะได้รับการรักษาตัวตามสิทธิพื้นฐานทั่วไปของผู้ประกันตน และยังได้รับค่าทดแทนรายได้เมื่อต้องเข้ารักษาตัวโดยการนอนโรงพยาบาลถึงวันละ 300 บาท และหากเลือกที่จะไม่นอนโรงพยาบาล จะได้รับวันละ 200 บาท สูงสุด 3 วัน โดยตรงมีใบรับรองแพทย์
และหากเกิดอุบัติเหตุจนทำให้พิการ จะได้รับเงินจากประกันสังคมเป็นจำนวน 500 – 1,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี แต่ถ้าหากระหว่างนั้นเสียชีวิตลง จะได้รับเงินค่าทำศพ 25,000 บาท และถ้าหากว่ามีการส่งเงินค่าเบี้ยประกันจนครบอายุ 60 ปี แล้วจะได้รับเงินอีก 8,000 บาท
กรณีผู้ประกันตนมาตรา 40 เลือกชำระเบี้ยประกันจำนวน 100 บาท ต่อเดือน จะได้รับการรักษาตัวตามสิทธิพื้นฐานเช่นเดียวกัน แต่จะได้รับค่าทดแทนการขาดรายได้อันเนื่องมาจากการต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลถึงวันละ 300 บาท และหากไม่นอนโรงพยาบาลจะได้รับวันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วัน
แต่หากเกิดกรณีเป็นผู้พิการ หรือผู้ทุพพลภาพ จะได้รับเงินในกรณีของการทดแทนการขาดรายได้ต่อเดือนเป็นจำนวนเงิน 500 – 1,000 บาท ตามแต่ระยะเวลาของการส่งค่าเบี้ยประกัน แต่ถ้าหากเกิดผู้ประกันตนมาตรา 40 เสียชีวิตลง จะได้รับเงินค่าทำศพเป็นจำนวนเงิน 25,000 บาท และได้เพิ่มอีก 8,000 บาท ถ้าหากมีการส่งเบี้ยประกันครบ 60 เดือน แล้ว
กรณีชราภาพ ในส่วนนี้ผู้ประกันตนมาตรา 40 จะได้รับเงินก้อน พร้อมดอกเบี้ยที่ได้ทำการชำระค่าเบี้ยประกันอย่างต่อเนื่อง และสามารถเลือกที่จะสะสมเงินเพิ่มเติมต่อได้โดยสามารถเลือกสะสมตั้งแต่เดือนละ 50 บาท ไปจนถึงไม่เกิดเดือนละ 1,000 บาท
ในกลุ่มนี้จะได้รับสิทธิเดียวกันกับกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 คือหากเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล จะได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้วันละ 300 บาท และหากไม่เลือกที่จะนอนโรงพยาบาล จะได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน ต่อปี
แต่หากเกิดอุบัติเหตุจนทำให้เป็นผู้ทุพพลภาพ จะได้รับเงินชดเชยจำนวน 500 – 1,000 ต่อเดือน / ตลอดชีวิต ตามแต่ระยะเวลาที่จ่ายเงินค่าเบี้ยประกัน และถ้าหากขึ้นขั้นกรณีเสียชีวิต จะได้รับเงินค่าทำศพจำนวน 50,000 บาท
และส่วนกรณีชราภาพ จะได้รับเงินก้อนจำนวน 150 บาท คูณกับระยะเวลาที่ผู้ประกันตน จ่ายเงินค่าเบี้ยประกัน ทั้งนี้จะได้รับดอกเบี้ยตอบแทนเพิ่มเติมอีกด้วย แต่ถ้าหากมีการจ่ายเงินสบทบเกิน 180 เดือน หรือ 15 ปีขึ้นไป จะได้รับเพิ่มอีก 10,000 บาท และในกรณีชราภาพ ยังสามารถเข้าร่วมการออมเงินต่อได้อีกเดือนละไม่เกิน 1,000 บาท ในกรณีผู้ประกันตนมีบุตร บุตรจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรอีกจำนวนเดือนละ 200 บาท ต่อบุตร 1 คน ใช้สิทธิสูงสุดได้ 2 คน
การเช็คสิทธิเยียวยา ของผู้ประกันตน
อย่างที่ได้แจ้งไปตั้งแต่ต้น มาตรการการเยียวยาในครั้งนี้นั้นยังออกมาไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ยังเป็นการประกาศออกมาแบบครอบคลุมเอาไว้ก่อน โดยในประกาศได้แจ้งว่าจะให้สิทธิกับผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 และ 40 ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดทั้งหมด 13 จังหวัด ก็คือ 1.กรุงเทพฯ, 2.นครปฐม, 3.นนทบุรี, 4.ปทุมธานี, 5.สมุทรปราการ, 6.สมุทรสาคร, 7.ฉะเชิงเทรา, 8.ชลบุรี, 9.พระนครศรีอยุธยา, 10.นราธิวาส, 11.ปัตตานี, 12.ยะลา และ 13.สงขลา
ส่วนกลุ่มอาชีพที่จะได้รับสิทธิเยียวยาจะมีทั้งสิ้น 9 ประเภทนั้นก็คือ 1.ประเภทก่อสร้าง, 2.ที่พัก และบริการด้านอาหาร, 3.ศิลปะ บันเทิง และนันทนาการ, 4.กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ, 5.ขายส่ง และการขายปลีก ซ่อมยานยนต์, 6.ผู้ให้บริการด้านข้อมูลข่าวสาร และการสื่อสาร, 7.กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ, 8.ขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า 9.กิจกรรมบริหาร และการสนับสนุน