รู้เท่าทัน โรคไบโพลาร์
โรคไบโพลาร์ เป็นชื่อเรียกที่ใช้สำหรับแบ่งประเภทของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางจิตใจ หรือผู้มีอาหารผิดปกติทางอารมณ์ โรคไบโพลาร์ มีชื่อเรียกสากลว่า Bipolar Disorder ( Disorder หมายถึง โรค, อาการผิดปกติ) โรคไบโพลาร์ในปัจจุบันนั้นจากสถิติของเท่าที่บันทึกได้พบว่า มีจำนวนประชากรกว่า 60 ล้านคนทั่วโลกที่กำลังจะต้องเผชิญกับปัญหาการเกิดสภาวะโรคไบโพลาร์นี้อยู่ และกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่ตรวจพบว่าเป็นแล้วนั้น ในช่วงแรกของอาการเริ่มตน พวกเขาไม่สามารถจับสังเกตอาการเริ่มต้นได้เลย
ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่วันนี้เราจะมาพาทุกคนไปรู้จักกับ โรคไบโพลาร์ ลักษณะ อาการของการเป็นโรคไบโพลาร์ และวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อรู้ว่าตนเป็นโรคไบโพลาร์ เพราะโรคไบโพลาร์นั้นเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้น และสร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองเป็นอย่างมากในการใช้ชีวิตประจำวันในแต่ละวัน และถ้าหากเรารู้เท่าทัน โรคไบโพลาร์ เราก็จะสามารถหาทางรักษา และดูแลการจัดการกับอารมณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ได้นั้นเอง
และที่สำคัญส่วนหนึ่งของผู้ที่เป็นโรคไบโพลาร์นั้น มักจะพบว่ามีอาการของการเป็นโรคซึมเศร้าตามมา
โรคไบโพลาร์ คืออะไร
โรคไบโพลาร์ หรือ โรคที่คนไทยมักจะเรียกผู้ป่วยกลุ่มนี้ว่า เป็นคน 2 บุคลิก ซึ่งนั้นเป็นชื่อเรียกที่สามารถใช้เรียกผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ชัดเจน และไม่ถูกต้องเสมอไป เพราะโรคไบโพลาร์นั้นจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอาการ มีปัญหาทางด้านอารมณ์ เพราะผู้ที่เป็นโรคไบโพลาร์จะไม่รู้สึกถึงการที่ตนเองนั้นมีอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแบบสุดขั้ว และเมื่อเกิดอารมณ์นั้นแบบสุดขั้วแล้ว อารมณ์อีกอารมณ์ที่จะตามมาก็คือ อารมณ์ซึมเศร้าอย่างรุนแรง
โดยอารมณ์ที่จะเกิดขึ้นในแต่ละอารมณ์ที่ผู้ป่วยจะต้องเผชิญนั้น พบว่าส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นนานถึงสัปดาห์ หรือในบางกรณีมีบันทึกว่าผู้ป่วยมีอาการใดอาการหนึ่งอย่างรุนแรงนานนับเดือนเลยทีเดียว สิ่งเหล่านี้ส่งผลโดยตรงให้ผู้ป่วยกลุ่มโรคไบโพลาร์ ต้องเผชิญกับความยากยิ่งในการเข้าสังคม การต้องพบปะผู้คนเป็นจำนวนมาก และต้องเจอกับคนใหม่ๆ ที่ไม่เข้าใจปัญหานี้ของตนเอง
แล้วเรามีอาการโรคไบโพลาร์ ได้อย่างไร
สำหรับโรคไบโพลาร์นั้น บางคนอาจจะสงสัยว่า แล้วแบบนี้ฉันจะต้องระวังตัวอย่างไรหละ หรือต้องคอยมานั่งระแวงว่ามันจะเกิดขึ้นกับฉันในวันไหน และสาเหตุที่แท้จริงนั้นคืออะไร ฉันจะได้ระวังตัวเองให้ถูกต้อง
คำตอบข้อนี้ก็คือ หากเราอยู่ในสถานที่ ๆ ดีๆ ไม่ต้องเผชิญกับสภาวะทางสังคมที่เป็น Toxic หรือ เป็นพิษต่อจิตใจตัวเอง ไม่เจอสภาวะแวดล้อมที่มีความกดดัน หรือความเครียด สิ่งเหล่านี้ อาจจะส่งผลให้เราเกิดสภาวะของการเป็นโรคไบโพลาร์ได้ โดยส่วนมากแล้วนั้นโรคไบโพลาร์นี้มักจะเกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว และสภาวะทางสังคม ที่ส่งผลโดยตรงต่อจิตใจในด้านความกดดัน ทำให้ผู้ที่รับความกดดันนั้นไม่ไหว จึงเกิดความเครียด และกระทบกระเทือนทางจิตใจ อาการทางอารมณ์ และสภาวะเหล่านี้นั้นส่งผลเป็นตัวกระตุ้นไปที่ประสาทในสมองเข้าไปมีผลต่อสารสื่อประสาท ทำให้ ฮอร์โมนนอร์อะดรีนาลีน เซโรโทนิน และโดปามีน ทำงานได้อย่างผิดปกติ และเมื่อเกิดการทำงานผิดปกติเป็นจำนวนมากๆ ติดต่อกันนานๆ ส่วนนั้นก็จะไม่สามารถฟื้นฟูสารสื่อประสาทให้กลับมาได้ตามปกติ จนทำให้การทำงานของระบบสื่อประสาทในสมองนั้นเกิดความไม่สมดุลและทำงานผิดปกติตลอดมา คล้ายกับแผ่นเสียงที่เมื่อมีรอยขูดแล้ว ก็จะเป็นรอยขูดนั้นตลอดไป
โรคไบโพลาร์ ป้องกันไม่ได้ แต่ดูแลได้
หากเพื่อนๆ ได้อ่านถึงตอนนี้แล้ว ต้องบอกว่าขอแสดงความเสียใดด้วย คุณอาจจะยังไม่ได้เป็นโรคไบโพลาร์ แต่คุณไม่มีสิทธิที่จะป้องกันการเกิดโรคไบโพลาร์ได้เลย ด้วยโรคนี้นั้นเกิดขึ้นจากอารมณ์เป็นหลัก และการกระทำ การดำเนินชีวิตของมนุษย์เรานั้น ขึ้นอยู่กับสภาวะจิต และอารมณ์เป็นหลัก
ซึ่งถ้าหากเพื่อนๆ พบว่าตัวเราเองนั้นเกิดอาการของโรคไบโพลาร์แล้ว เบื้องต้น ให้เราเข้าไปพบกับผู้เชี่ยวชาญด้านจิตแพทย์ก่อนเพื่อที่จะทำการประเมินสภาวะจิต ห้ามใช้วิธีการคิดเอาเอง และข้อย้ำ อย่าอาย เพราะโรคไบโพลาร์นั้นจำเป็นจะต้องรักษาด้วยวิธีการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาระดังของสารสื่อประสาทที่มีการทำงานอย่างผิดปกติภายในมองนั้นเอง ซึ่งหากว่าเราไม่รับประทานยา หรือรับประทานไม่ต่อเนื่อง อาจจะทำให้เราเกิดโรคซึมเศร้า และมีอาการการทำร้ายตัวเองตามมา
สภาวะของผู้ป่วยโรค ไบโพลาร์
โรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์ 2 บุคลิกนั้นมีอาการที่เราสามารถจับสังเกต หรือสามารถเช็คได้อย่างเด่นชัดหลักๆ ด้วยกันทั้งหมด 2 อาการ และทั้งสองอาการนี้นั้น จะเป็นอาการส่วนใหญ่ของคนที่ประสบกับปัญหาการเผชิญสภาวะของโรคไบโพลาร์นั้นเอง
อาการที่ 1 เกิดสภาวะอารมณ์ดี
สำหรับอาการที่ 1 นั้นก็คืออาการของการเกิดสภาวะความสุข ผู้ที่เกิดสภาวะนี้จะมีความเป็นคนอารมณ์ดีอย่างผิดปกติ มีความกระตือรือร้น และตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา พลังงานล้น ไม่ค่อยอยากนอน สามารถคิดได้เร็วขึ้น และพูดเร็ว ในทางกลับกัน ก็จะมีอารมณ์รุนแรง หงุดหงิดง่ายเนื่องจากความคิดที่รวดเร็ว จึงอาจจะรู้สึกถึงความไม่ทันใจเกิดขึ้น
อาการที่ 2 เกิดสภาวะซึมเศร้า
และในอาการที่ 2 นี้ เป็นอาการที่ค่อนข้างอันตรายต่อตนเองเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะทำให้กระทบกับตัวเราเองแล้วนั้น บางกรณียังสามารถกระทบกับหน้าที่การงานได้อีกด้วย และเปลี่ยนไปเป็นคนที่มองโลกในแง่ร้ายอย่างน่ากลัว มีความท้อแท้ในจิตใจเกิดขึ้น มีปัญหาด้านความทรงจำ และควบคุมการใช้ชีวิตไม่ได้